ตัดสิ่งเร้าเจ้ากิเลส

พุทธเศรษฐศาสตร์ (Buddhist Economics) : ตัดสิ่งเร้า เจ้ากิเลส...

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ความต้องการของมนุษย์อันไม่มีที่สิ้นสุดนั้น เกิดขึ้นก็ด้วยเพราะเจ้ากิเลสที่กระตุ้นเร้าความอยากอย่างไม่รู้จักหยุดจักหย่อน

เศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่ปักลงในสังคมปัจจุบัน เป็นเครื่องชี้นำให้เกิดการสร้างสิ่งเร้าต่าง ๆ ผ่านกระบวนการทางการตลาด (Marketing Process) การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การขายโดยบุคคล การส่งเสริมการขาย ล้วนเป็นกระบวนการที่กระตุ้นความอยากคือเจ้ากิเลสทั้งสิ้น

เพียงตัดสิ่งเร้าอันเกิดจากิเลสเสียได้ความอยากก็ไม่มี

 

การประปฏิบัติปฏิบัติตนให้ดำรงมั่นอยู่ในศีลและธรรมสามารถตัดสิ่งเร้าได้ในระดับหนึ่ง

เบื้องต้นคือศีลแปดหรือการถือศีลอุโบสถเพิ่มเติมอีก ๓ ข้อจากศีลห้า
ความเชื่อมโยงกันระหว่างสมาทานงดฉันอาหารในเวลาวิกาลหรือหลังเที่ยงเป็นต้นไป ถ้าหากเราขาดตกบกพร่องในศีลอีกข้อหนึ่งก็คือ ศีลข้อที่ว่าด้วยการงดดูการละเล่น ละคร ฟ้อนรำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะโทรทัศน์ จะทำให้เราสามารถตัดความกังวลและความอยากต่ออาหารต่าง ๆ ที่นำเสนอผ่านสื่อนั้นมากระตุ้นกิเลสที่กำลังถูกกักขังด้วยการสมาทานหรือการตั้งใจที่จะประพฤติปฏิบัติรักษาศีลให้ดำรงและมั่นคงอย่างตั้งมั่น

เมื่อตัดสิ่งเร้าออกจากโสตสัมผัส ศีลต่อศีลจะค้ำอยู่ซึ่งกันและกัน
เมื่อไม่มีสิ่งเร้า เราก็ไม่หิว
เมื่อไม่มีความอยาก เราก็ไม่กระหาย
เมื่อไม่มีกิเลส เราก็ไม่วุ่นวาย
ชีวิตก็จะอยู่ได้แบบสบาย ๆ ในทุก ๆ วัน

 

หรือจะเชื่อมโยงกับศีลอีกข้อที่เหลือคือเพิ่มขึ้นมานั่นก็คือ การงดซึ่งการตกแต่งด้วยของหอม เครื่องย้อม เครื่องทา รวมถึงงดการนอนการนั่งในเตียงหรือตั่งที่นุ่มมาก ๆ หรือสูงใหญ่ 

เป็นการประพฤติปฏิบัติเพื่อตัดสิ่งเร้านั่นคือเจ้ากิเลสที่จะกระทบโสตสัมผัสโดยตรง

กลิ่นหอมหวนอันยั่วยวนใจจากน้ำมันหอม ครีมบำรุงผิว ที่โบกโบยและพัดปลิวจากผิวขึ้นสัมผัสจมูก

เชื่อมโยงให้สัญญาเก่าตีความและปรุงแต่งกิเลสให้ชักนำไปซึ่งความกระวนกระวายใจจนอยู่นิ่งไม่ได้ต้องออกไปจับจ่ายและสิ่งของเพื่อมาตอบสนองความอยากอันเกิดจากสิ่งเร้านั้น

ไม่มีเหตุก็ไม่มีทุกข์
เมื่อตัดสิ่งเร้าเจ้ากิเลสเราก็ไม่มีทุกข์
ไม่มีทุกข์ในความไม่มี ไม่เป็น
ไม่มีสิ่งเร้า เราก็ไม่คิด ไม่วุ่นวาย ชีวิตก็อยู่ได้สบาย ๆ


ใจดี ใจสบาย

สบายด้วยความสงบ
สงบจากความอยาก
สงบจากกิเลส
สงบจากความเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น
มีเวลาให้ตนเองมากขึ้น
มีเวลาให้ครอบครัว
มีเวลาให้สังคม
และมีเวลาให้โลกมากขึ้น
ไม่ต้องไปกังวลกับเรื่องอยู่ เรื่องกิน ให้มากเกินความต้องการของตนเอง
อยู่และกินเพียงให้การตั้งได้แห่งกายนี้
กายและใจก็มีเวลาที่จะสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ
ประกอบคุณงามความดี ให้สิ่งดี ๆ กับตนเองและผู้อื่น

เมื่อมีเหลือ ย่อมมีแบ่งปัน ย่อมมีการให้ ไร้การเบียดเบียน
สังคมที่มีแต่การให้ ยกเว้นซึ่งการเอาโดยตัดสิ่งเร้าที่จะสั่งสมแต่กิเลสและความอยาก
นั่นคือสังคมที่ตั้งมั่นด้วย “พุทธเศรษฐศาสตร์ (Buddhist Economics)” ให้เป็นฐานแห่งเศรษฐกิจและสังคม

 

ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ

13 ธันวาคม พ.ศ.2550

Visitors: 82,189