พุทธเศรษฐศาสตร์ (Buddhist Economics)

พุทธเศรษฐศาสตร์ในความเข้า "ใจ" ของข้าพเจ้า...


 

 สภาวะการขาดพัฒนาการทางเศรษฐศาสตร์ (Autistic Economics Syndrome : AES)

ในช่วงกลางปีที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสอันดียิ่ง ที่ได้เข้าไปนั่งฟังการบรรยายของท่าน ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน ในวิชาพุทธเศรษฐศาสตร์ ซึ่งท่านได้กล่าวถึงเรื่องเศรษฐศาสตร์กับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันว่าเข้าข่ายของ "Autistic Economics"

หลังจากนั้นผมก็ได้พยายามนั่งตีความและทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า "Autistic Economics" ทั้งจากการย้อนกลับไปดูเลคเชอร์ที่จดไว้ กลับไปอ่านหนังสือ แต่ก็ยังมีคำถามค้างคาใจอยู่หลาย ๆ อย่าง

จนกระทั่งเมื่อเดือนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสดูละครซี่รี่ส์เกาหลี เรื่อง "ดวงใจแม่" ซึ่งเป็นละครที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับแม่ซึ่งเลี้ยงดูแลลูกที่ป่วยเป็นโรคออทิสติค (Autistic) ซึ่งทำให้ผมเข้าใจถึงสภาวะที่เกิดกับเศรษฐกิจและสังคมไทย ณ ปัจจุบันได้ว่าทำไมถึงเป็นเช่นนี้ และเป็นเช่นนี้ได้ก็เพราะว่า เศรษฐกิจและสังคมไทยนั้นกำลังประสบกับสภาะที่เรียกว่า "สภาวะการขาดพัฒนาการทางเศรษฐศาสตร์ (Autistic Economics Syndrome : AES)"

โรคออทิสติค(Autistic) หรือ ออทิซึม(Autism) เป็นโรคที่มาจากคำว่า "Auto" มีความหมายว่า "Self" หรือตนเอง เป็นโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากพบว่า เด็กที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวนี้ขาดการติดต่อกับผู้อื่น โดยจะหันเข้าหาตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "จะไม่แยแสต่อโลกภายนอก" ซึ่งจากคำนิยามของโรคออทิสติคดังกล่าว เกิดคำตอบหลาย ๆ อย่างเกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันว่าทำไมจึงเป็นเช่นนี้

จากคำนิยามและความหมายของเศรษฐศาสตร์นั้น ก็คือ เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค โดยเกี่ยข้องกับการนำทรัพยากรต่าง ๆ หรือทุนที่มีอยู่ในโลกนี้มาใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนทั่วไป รวมถึงนำมาใช้เป็นหลักในการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในกระแสทุนนิยมอีกด้วย

แต่หลังจากที่ประเทศไทยต้องประสบกับสภาวะวิกฤตต้มยำกุ้งในช่วงปี พ.ศ.2540 ทำให้เกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับหลักการทางเศรษฐศาสตร์กันอย่างหลากหลาย ทั้งหลักการดอกเบี้ยที่เกี่ยวข้องกับเงินฝืดหรือเงินเฟ้อ หลักการของอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเรียกได้ว่าเป็นวิกฤตก็เพราะว่า "ไม่เป็นไปตามหลักทฤษฎีเศรษฐศาสตร์"

อาทิเช่น หลักการของการควบคุมการบริโภคเพื่อไม่ให้เกิดเงินเฟ้อ รัฐหรือผู้ควบคุมนโยบายก็จะใช้การขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อดึงเงินเข้าสู่คลังกระตุ้นให้เกิดการออมมากขึ้น...

แต่ในช่วงนั้น ทุกอย่างสับสนอลหม่านไปหมด ไม่มีคำตอบ ไม่มีคำอธิบาย เพียงแต่ตอบสั้น ๆ ว่า "เป็นวิกฤต" ซึ่งวิกฤตนั้นก็คือ ไม่เป็นไปตามทฤษฎี ถ้าไปเป็นตามทฤษฎีก็จะไม่เกิดวิกฤตไง

โดยเมื่อย้อนกลับไปหาความหมายหรือคำนิยามของคำว่า Autistic ก็ทำให้ทราบเหตุผลอย่างหนึ่งได้เลยว่า "พัฒนาการของเศรษฐศาสตร์ ไม่ทันต่อเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน"

พฤติกรรมเฉยเมย ซึ่งก็เป็นธรรมชาติของหลักทฤษฎีที่คงจะไม่กระดี๊กระด๊าปรับตัวได้ด้วยตนเองเมื่อโลกหมุนเวียนเปลี่ยนไปในทุกวินาที

พฤติกรรมการไม่สนใจใคร และทำกับสิ่งมีชีวิตอื่นคล้ายสิ่งของ ก็แน่นอนว่าระบบทุนนิยมเขาก็ใช้หลักการใช้แรงงานคนดั่งเช่นเครื่องจักร การนำระบบโรงงาน (Factory System) เข้ามาเพื่อใช้เครื่องจักรทดแทนคน เพื่อลดต้นทุน เพิ่มยอดขาย ซึ่งจะผันกลายไปสู่เป้าประสงค์อย่างเดียวก็คือ "กำไร กำไร และ กำไร" จนเกิดสภาวะการตกงาน ว่างงานและปัญหาสังคมมากมาย

Autistic Economics Syndrome สภาวะการขาดพัฒนาการทางเศรษฐศาสตร์นี้ จะสร้างวัฒนธรรมของระบบเศรษฐกิจที่ไม่มีปฏิกิริยาต่อสัมพันธภาพของบุคคล ระบบสายพาน ระบบ Just in Time คำพรรณนาลักษณะงาน (Job Description) ที่ตรึงเปรี๊ยะ เน้นประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness) เพื่อสร้างผลิตผล (Productivity) อย่างเดียวเท่านั้นก็คือ สินค้าซึ่งจะนำมาสู่รายได้ และกำไร โดยจะนำพาไปสู่การสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้นอย่างสูงสุด (Shareholders wealth Maximization)

สร้างวัฒนธรรมซื้อกันด้วยเงิน ไม่รู้ร้อน ไม่รู้หนาว ฉันจ่ายเงินคุณ คุณต้องทำงานให้คุ้มค่า สร้างค่านิยมการบริหารแบบไม่รู้จักช่วยตนเองจากอันตรายต่าง ๆ อาศัยการพึ่งพาจากระบบที่ประสบสภาวะการขาดพัฒนาการเช่นเดียวกัน

แต่สภาวะนี้สามารถแก้ไขได้.... ด้วยการดูแลใส่ใจ "ด้วยความรัก"

ละครเกาหลีชุดนั้น ได้ถ่ายทอดความสัมพันธ์อันดี ความใส่ใจ ดูแลเอาใจใส่ จากแม่สู่ลูก จนทำให้เด็กสามารถยืนอยู่ในสังคมได้ด้วยตนเองอย่างสง่างาม

เฉกเช่นเดียวกันกับระบบเศรษฐกิจถืออยู่บนฐานของเศรษฐศาสตร์จะสามารถสร้างเสริมพัฒนาการเพื่อให้ก้าวทันสู่ความเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิตอลนี้ได้ก็ด้วย "ความรัก และการเอาใจใส่"....

ซึ่งจะทำได้อย่างไรนั้น ขอเชิญทุกท่านร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อหาวิธีเสริมสร้างความรัก และร่วมกันเอาใจใส่ระบบเศรษฐกิจไทยให้มีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัยอันสดใสของสังคมและเศรษฐกิจไทยครับ....

ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ

22 ธันวาคม 2549


  • tt449.jpg
    พุทธเศรษฐศาสตร์ (Buddhist Economics) : ตัดสิ่งเร้า เจ้ากิเลส... ความต้องการของมนุษย์อันไม่มีที่สิ้นสุดนั้น เกิดขึ้นก็ด้วยเพราะเจ้ากิเลสที่กระตุ้นเร้าความอยากอย่างไม่รู้...

  • tt465.jpg
    พุทธเศรษฐศาสตร์ (Buddhist Economics) : ปฐมบท... สืบเนื่องเมื่อคราวก่อนนับย้อนไปเมื่อครั้งในอดีตชีวิตที่พลิกผันได้นำ “สังขาร” อันมีทั้งชีวิตและจิตใจ ที่เดินตามสายแห่งกรรมท...

  • tt451.jpg
    เมื่อเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก (Core Economic) มักให้คำนิยามความต้องการของมนุษย์ว่า “ไม่มีวันสิ้นสุด” พุทธเศรษฐศาสตร์ (Buddhist Economic) จึงเป็นเศรษฐศาสตร์ที่สอนให้มนุษย์ร...

  • cpac12.jpg
    พุทธเศรษฐศาสตร์ (Buddhist Economics) : ทำด้วยใจ เพื่อใจดี...เมื่อเศรษฐศาสตร์กระแสหลักทำงานกันด้วยแรงเพื่อเงิน แต่พุทธเศรษฐศาสตร์นั้นไซร้ “ทำด้วยใจ เพื่อใจ” จุดเริ่มต้นเกิดจากความปร...

  • tt476.jpg
    พุทธเศรษฐศาสตร์ (Buddhist Economics) : “ทรัพย์กรมนุษย์ที่สมบูรณ์ (ด้วยความกตัญญู)” Perfect Human Resource : PHR การจะเป็นองค์กรที่สุดยอดได้ ก็เพราะองค์กรนั้นมี “คน” ที่สุดยอด“คน” ...

  • tt443.jpg
    พุทธเศรษฐศาสตร์ (Buddhist Economics) : “แข่งดี” Goodness Racing ในสังคมโลกปัจจุบัน ทุก ๆ วันมนุษย์ต้องแข่งขันกับสรรพสิ่งรอบข้างกาย... นับตั้งแต่รู้สึกตัวตื่นจากการหลับใหล ...

  • tt128.jpg
    พุทธเศรษฐศาสตร์ (Buddhist Economics) : เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก “ปัก” สังคมไทย วิถีชีวิตของคนแห่งสังคมที่เคยอยู่กับเศรษฐกิจแบบพึ่งพาและพึ่งพิงธรรมชาติ กลับถูก &ldq...

  • tt472.jpg
    ดัชนีชี้วัดมวลรวมความสุข (Index of Gross Domestic Happiness : IGDH) มวลรวมความสุข (Gross Domestic Happiness: GDH) เป็นสิ่งที่กำลังถูกพูดอย่างกว้างขวางและหนาหูอยู่ในปัจจุบั...
Visitors: 77,805